ขายฝากและจำนอง แตกต่างกันยังไงบ้าง?

ขายฝากและจำนอง

ขายฝากและจำนองแตกต่างกันยังไง

ที่จริงแล้วการทำสัญญาทั้งสองแบบมีความแตกต่างกันอยู่ในแง่ของรายละเอียด โดยสามารถแบ่งได้เป็นรายละเอียดในส่วนของ เป้าหมายในการทำสัญญา ลักษณะสัญญา ระยะเวลาของสัญญา กรณีทำผิด และรายละเอียดที่จำเป็น มาดูกันว่า มีส่วนไหนที่คล้ายกันและแตกต่างกันบ้าง

เป้าหมายหลักของการทำสัญญา ขายฝากแลจำนอง เป็นสัญญาที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในการกู้ยืมเงิน โดยเป็นการตกลงร่วมกัน ระหว่างเจ้าหนี้ และลูกหนี้ ส่วนหลักประกันที่นำมาใช้ค้ำก็คือ อสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็น บ้าน ที่ดิน คอนโด ฯลฯ ในส่วนของเป้าหมายหลักจึงคล้ายกัน

 

ความแตกต่างของการทำสัญญา จำนอง และ ขายฝาก

  • สัญญาจำนอง ลูกหนี้ไม่ต้องโอนทรัพย์ให้ไปอยู่ในมือเจ้าหนี้
  • สัญญาขายฝาก ลูกหนี้จะต้องโอนทรัพย์ไปอยู่ในมือเจ้าหนี้ ดังนั้นความแตกต่างที่เด่นชัดและเป็นหัวใจสำคัญจึงอยู่ที่ การมอบสิทธิการครอบครองทรัพย์นั้นๆกับให้กับเจ้าหนี้ เมื่อครบกำหนดเวลาแล้วแต่ฝ่ายลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ เจ้าหนี้ก็จะได้สิทธิในการยึดทรัพย์นั้นทันที
  • สถานที่ทำสัญญา การทำสัญญาทั้งของ จำนอง และ ขายฝาก จะต้องทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่พนักงาน ณ กรมที่ดินเท่านั้น

 

ระยะเวลาในการทำสัญญา

  • สัญญาจำนอง ตกลงเวลาที่จะชำระหนี้คืน พร้อมสินไถ่ ตามที่ตกลงกัน
  • สัญญาขายฝาก ตกลงเวลาที่จะชำระหนี้คืนพร้อมสินไถ่ ตามที่ตกลงกัน แต่ขายฝากจะมีกฎหมายจำกัดไว้ว่าจะต้องเป็นเวลาไม่เกิน 10 ปี

 

ในกรณีที่มีการทำผิดสัญญา

  • สัญญาจำนอง หากว่าครบสัญญาแล้ว สามารถจ่ายดอกเบี้ย เพื่อต่อเวลาได้อีกไม่เกิน 5 ปี หรือฝ่ายผู้รับจำนองสามารถทำการขอฟ้องร้องต่อศาลเพื่อบังคับจำนอง แล้วให้กองบังคับคดีประมูลขายเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ได้ โดยในระหว่างที่โดนฟ้องบังคับจำนอง ที่อสังหาริมทรัพย์นั้นจะไม่สามารถนำมาขายเองได้แล้ว
  • สัญญาขายฝาก ลูกหนี้จะต้องมาขอไถ่ถอนภายในกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ในสัญญา หากว่าพ้นกำหนดระยะเวลาที่กำหนดไว้ ตามกฎหมายแล้วก็ยังสามารถขยายเวลาขายฝากได้กี่ครั้งก็ได้ แล้วครั้งละนานเท่าใดก็ได้ แต่ระยะเวลารวมกันแล้วจะต้องไม่เกิน 10 ปี

 

ค่าจดทะเบียน

  • สัญญาจำนอง เสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 1 คิดจากวงเงินที่นำมาจำนอง แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
  • สัญญาขายฝาก เสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 2 จากราคาประเมิน และต้องชำระภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และค่าอากรแสตมป์ตามที่กฎหมายกำหนดไว้

 

สิทธิในการไถ่ถอน

  • การขายฝาก ผู้ขายมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินคืนตามระยะเวลาที่ตกลงไว้ในสัญญา หากไม่สามารถไถ่ถอนในระยะเวลาที่กำหนด ผู้รับขายฝากจะถือว่าทรัพย์สินนั้นเป็นของตนโดยสมบูรณ์
  • การจำนอง ไม่มีการไถ่ถอนเหมือนการขายฝาก เนื่องจากการจำนองเป็นเพียงการใช้ทรัพย์สินเป็นหลักประกันหนี้เท่านั้น ถ้าหากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ผู้รับจำนองจะต้องดำเนินการบังคับขายทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้

 

ความเสี่ยงในการสูญเสียทรัพย์สิน

  • การขายฝาก ผู้ขายมีความเสี่ยงสูงที่จะสูญเสียกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน หากไม่สามารถไถ่ถอนภายในเวลาที่ตกลงไว้
  • การจำนอง ผู้จำนองยังคงครอบครองทรัพย์สินของตนเองได้ หากไม่ชำระหนี้ตามสัญญา ผู้รับจำนองจะต้องใช้กระบวนการบังคับคดีเพื่อขายทรัพย์สิน

 

การใช้ประโยชน์จากทรัพย์สิน

  • การขายฝาก ผู้ขายอาจสูญเสียกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินทันที หากไม่ทำการไถ่ถอนตามเวลาที่กำหนด
  • การจำนอง ผู้จำนองสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินได้ตามปกติ โดยไม่ต้องย้ายออกหรือส่งมอบทรัพย์สินให้ผู้รับจำนอง

 

ระยะเวลา

  • การขายฝาก มีระยะเวลาที่ชัดเจนในการไถ่ถอน (ไม่เกิน 10 ปี) หากไม่ไถ่ถอนภายในระยะเวลาที่กำหนด ทรัพย์สินจะตกเป็นของผู้รับขายฝาก
  • การจำนอง ไม่มีการจำกัดเวลาชัดเจนในการชำระหนี้ นอกจากที่ตกลงกันในสัญญา

 

วงเงินในการอนุมัติ

  • สัญญาจำนอง มักได้วงเงินประมาณ 30% ของราคาประเมิน
  • สัญญาขายฝาก มักได้วงเงิน 40-70% ของราคาประเมิน

 

ขายฝากได้วงเงินมากกว่าเพราะอะไร??

สาเหตุที่การขายฝากทำให้ได้วงเงินมากกว่าการจำนอง เพราะสาเหตุด้านความเสี่ยงของเจ้าหนี้ เนื่องจากการขายฝากนั้นมีข้อแตกต่างจากการจำนองเนื่องจากเมื่อทำสัญญากันแล้ว เอกสารและสิทธิในทรัพย์นั้นจะถูกโอนย้ายไปอยู่กับเจ้าหนี้ ทำให้เจ้าหนี้แบกรับความเสี่ยงน้อยกว่า เพราะเมื่อลูกหนี้ผิดสัญญา ฝ่ายเจ้าหนี้จะได้รับทรัพย์นั้นมาอยู่ในกรรมสิทธิ์ทันที 

แต่ในกรณีทำการจำนองแตกต่างออกไป เพราะทรัพย์ยังคงอยู่กับลูกหนี้ ดังนั้นหากมีการผิดนัดชำระ หรือไม่สามารถชำระหนี้ได้ เจ้าหนี้ยังไม่สามารถยึดทรัพย์นั้นได้ แต่จะต้องฟ้องบังคับทำให้มีการขึ้นศาล และมีค่าใช้จ่าย ใช้เวลา และมีความยุ่งยากกว่านั่นเอง ดังนั้นในกรณีของเจ้าหนี้ที่จะรับจำนองทรัพย์ ควรตั้งมีสภาพคล่องในระดับหนึ่ง หรือประเมินแล้วว่าลูกหนี้มีสภาพคล่องและศักยภาพที่จะชำระหนี้ได้นั่นเอง ในแง่หนึ่งแล้ว การทำขายฝาก จึงค่อนข้างเสี่ยงน้อยกว่าสำหรับเจ้าหนี้ ในขณะที่ลูกหนี้ก็มีโอกาสขอวงเงินได้มากกว่าด้วย แต่ก็ยังมีเรื่องที่ควรต้องพิจารณาก่อนทำสัญญา ไม่ว่าจะขายฝากหรือจำนองครับ

 

สรุป

  • ขายฝาก ผู้ขายสูญเสียกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชั่วคราว และมีระยะเวลาในการไถ่ถอน หากไม่ไถ่ภายในเวลาที่กำหนด ทรัพย์สินจะตกเป็นของผู้รับขายฝาก
  • จำนอง ผู้จำนองยังคงครอบครองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน แต่ใช้ทรัพย์สินเป็นหลักประกันในการกู้ยืมเงิน หากไม่สามารถชำระหนี้ได้ ผู้รับจำนองมีสิทธิ์บังคับขายเพื่อชำระหนี้

 

#สอบถามข้อมูลจำนองขายฝาก

โทร : 061-895-4469

Line OA : https://lin.ee/5k9QSYx

(@kaifakcoachtae)

Website : https://xn—-twfcwe6hya3b6gwbcd46a.com

#ขายฝากที่ดิน #ขายฝากจำนอง #ขายฝาก #จำนอง #โค้ชเต๊ะ #รับขายฝาก #รับจำนอง #รับขายฝากจำนอง #โฉนดที่ดิน #กรมที่ดิน #โฉนด #อสังหาริมทรัพย์ #บ้านแลกเงิน